โครงการอบรมพัฒนาทักษะ Soft Skills และ Up Skills ด้วยทักษะกระบวนการวิศวกรสังคม

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม น้อมนำพระราโชบายการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมกับศาสตร์พระราชา และผสานองค์ความรู้ของศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อสร้างนวัตกรรมชุมชนท้องถิ่นให้ไปสู่ความยั่งยืน ผ่านกระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยใช้เครื่องมือทางวิศวกรสังคมนำไปสู่การสร้างทักษะของ “นักคิด นักสื่อสาร นักประสานงาน และนักสร้างนวัตกรรม” สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าพร้อมก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 กลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม และการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา โดยกระบวนการวิศวกรสังคมมุ่งส่งเสริม  “Soft Skills” ที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักศึกษาโดยใช้ชุมชนท้องถิ่นเป็นฐาน

อย่างไรก็ตามกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนานักศึกษาให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ที่มีส่วนสำคัญในการขยายผลสู่การพัฒนานักศึกษาที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องรวมถึงปรับเทคนิควิธีอย่างรู้เท่าทันต่อสถานการณ์ กองพัฒนานักศึกษา จึงกำหนดจัดโครงการอบรมพัฒนาทักษะ Soft Skills และ Up Skills ด้วยทักษะกระบวนการวิศวกรสังคม ให้กับคณะกรรมการพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานให้ทุกภาคส่วนได้บูรณาการโครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนกระบวนการวิศวกรสังคมอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย ผู้บริหาร ได้แก่ รองอธิการบดี, รองคณบดี, บุคลากรด้านการพัฒนานักศึกษาจากทุกคณะ, บุคลากรกองพัฒนานักศึกษา และ ผู้นำนักศึกษา ได้แก่ สภานักศึกษา องค์การนักศึกษา และสโมสรนักศึกษาจากทุกคณะ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขยายผลสู่การพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัยโดยใช้ทักษะวิศวกรสังคม ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุ-ผลทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง และทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาคณะกรรมการกิจการนักศึกษาให้มีความรู้และทักษะด้านกระบวนการวิศวกรสังคม
  2. เพื่อพัฒนาทักษะด้านกระบวนการวิศวกรสังคมให้กับผู้นำนักศึกษา                   
  3. เพื่อพัฒนาทักษะการเป็นที่ปรึกษาวิศวกรสังคมให้กับบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  4. เพื่อศึกษาเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีด้านวิศวกรสังคมและขยายผลการสร้างนวัตกรชุมชนที่สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ
  5. เพื่อให้คณะกรรมการกิจการนักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะวิศวกรสังคม 4 ประการ ได้แก่ ทักษะการเป็น นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้นำนักศึกษา บุคลากรกองพัฒนานักศึกษา บุคลากรด้านกิจการนักศึกษา จำนวน 120 คน

กำหนดการกิจกรรม

รายละเอียดกิจกรรมdownloadภาพถ่าย
1. ประชุมคณะทำงานกองพัฒนานักศึกษาเพื่อทบทวนประเด็นสำคัญของปีที่ผ่านมาและวางแผนการจัดกิจกรรมโครงการที่สามารถขยายผลต่อเนื่องด้านการพัฒนานักศึกษาด้วยทักษะวิศวกรสังคม วันที่ 7 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคารกิจการนักศึกษากำหนดการclick
2. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทบทวนเครื่องมือวิศวกรสังคมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นปัญหาด้านการถ่ายทอดกระบวนการวิศวกรสังคมของผู้นำนักศึกษา (สภานักศึกษา/สโมสรนักศึกษา/สโมสรนักศึกษาทุกคณะ) ระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2568 ณ ห้องสโลป กองพัฒนานักศึกษากำหนดการclick
3. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะ Soft Skills และ Up Skills ด้วยทักษะกระบวนการวิศวกรสังคมให้กับคณะกรรมการพัฒนานักศึกษา ระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2568 ณ จังหวัดจันทบุรีกำหนดการclick

คณะวิทยากร

  • ระหว่างวันที่ 7 – 9 มีนาคม 2568
  1. ผศ.ดร.ธนสาร เพ็งพุ่ม คณบดีคณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม
  2. อ.รณชัย หมื่นวงศ์ รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ฯ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม
  3. น.ส.ชวนพิศ เปรมกมล หัวหน้างานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา กองพัฒนานักศึกษา ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  4. อ.คณิต เรืองขจร อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  5. อ.ปัทมา เซ้งอาศัย ผู้ช่วยคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  6. นายทวิชากร ขุนภักดี หัวหน้างานบริหารงานทั่วไป กองพัฒนานักศึกษา ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • ระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2568
  1. ผศ.ว่าที่ รอ.ดร.บัญชา สำรวยรื่น ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและวิเทศสัมพันธ์ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม
  2. อาจารย์ภูรดา ประเสริฐศรี รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม
  3. ผศ.ดร.ธนพร บัวรอด อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ ม.ราชภัฏพิบูลสงคราม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ความคิดเห็นจากผู้บริหาร นักศึกษา และบุคลากร เพื่อนำมาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านกิจการนักศึกษาด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม
  • คณะกรรมการพัฒนานักศึกษา สามารถวางแผนการพัฒนาการจัดกิจกรรมในระยะต่อไป
  • การพัฒนาตัวชี้วัดของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น (มรพส.1.15)

รายละเอียดเพิ่มเติม : กองพัฒนานักศึกษา โทร. 9606