โครงการอบรมแผนเผชิญเหตุวิกฤติสุขภาพจิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม โดย ผศ.ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นประธานในพิธีเปิดจัดโครงการอบรมแผนเผชิญเหตุวิกฤตสุขภาพจิต ณ อาคารกิจการนักศึกษา ชั้น 2 โดยการจัดโครงการอบรมแผนเผชิญเหตุวิกฤตสุขภาพจิต เป็นภารกิจของ ศูนย์แนะแนวและให้คำปรึกษา ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU “โครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ” ระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏกับกรมสุขภาพจิต กิจกรรมสำคัญคือการจัดทำแผนเผชิญเหตุวิกฤตสุขภาพจิต เพื่อใช้เป็นแนวทางในการช่วยเหลือนักศึกษาและบุคลากรกรณีเกิดเหตุวิกฤต นักศึกษาบุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัยได้รับการดูแลจากผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้น โดยวิทยากรจากศูนย์สุขภาพที่ 2 กรมสุขภาพจิต ในหัวข้อดังนี้

  • การบริหารจัดการภาวะวิกฤตสุขภาพจิต (Mental Health Crisis Management) โดย นางสาวกรรณิการ์ พุกศร นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการ
  • แนวทางการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่อภาวะวิกฤติ (2P2R) โดย นางสาวศศิรกานญ์ รุ่งสกุล นักจิตวิทยาชำนาญการ
  • แผนเผชิญเหตุภาวะวิกฤตสุขภาพจิต (Incident Action Plan : IAP) โดย นายเมธัส ตาเขียววงศ์ นักจิตวิทยา
  • การเจรจาต่อรองกับการแก้ไขภาวะวิกฤติสุขภาพจิต โดย นางสาวจินตนา กองทรัพย์ นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
  • ซ้อมแผนเผชิญเหตุภาวะวิกฤตสุขภาพจิต (Incident Action Plan : IAP) โดย นายเมธัส ตาเขียววงศ์ นักจิตวิทยา

ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ประกอบด้วย นักศึกษา บุคลากรสายสนับสนุน และ บุคลากรสายวิชาการ จากทุกคณะ ที่ให้ความสนใจด้านการดูแลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางจิตใจจากเหตุวิกฤติสุขภาพจิต จำนวน 100 คน

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามให้ความสำคัญต่อเนื่องเกี่ยวกับการขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงผ่าน APP DEKPIBUL เชื่อมโยงระบบดูแลช่วยเหลือและการส่งต่อบริการกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิตกับหน่วยงานเครือข่าย ตลอดจนให้ความรู้กับนักศึกษาและบุคลากรให้สอดรับกับการแก้ปัญหาสุขภาพจิตในโครงการอบรมแผนเผชิญเหตุวิกฤตสุขภาพจิตดังกล่าว ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับเกียรติบัตรออนไลน์ เป็นเวลา 6 ชั่วโมง สามารถ download เกียติบัตรเมื่อประเมินความรู้ความเข้าใจหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมโครงการ

Download เอกสาร



งานส่งเสริมอาชีพและศิษย์เก่า กองพัฒนานักศึกษา
055-267000-2 ต่อ 9606